วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne's eclecticism)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne's eclecticism) 

             ณัชชากัญญ์ http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486  กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)    แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้ 

ขั้นที่  สร้างความสนใจ (Gaining attention) 
ขั้นที่  แจ้งจุดประสงค์ (Informing the learning) 
ขั้นที่  3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น (Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) 
ขั้นที่  เสนอบทเรียนใหม่ (Presenting the stimulus) 
ขั้นที่  ให้แนวทางการเรียนรู้ (Providing learning guidance) 
ขั้นที่  ให้ลงมือปฏิบัติ (Eliciting the performance) 
ขั้นที่  ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) 
ขั้นที่  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ (Assessing the performance) 
ขั้นที่  9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้ (Enhancing retention and transfer)
 
 
Gagne and Briggs (1974:121-136) ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 8 ประเภทดังนี้
1.การเรียนรู้สัญญาณ (signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมไม่ให้เกิดขึ้นได้
2.การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง (stimulus-response learning) เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แตกต่างจากการเรียนรู้สัญญาณเพราะผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้
3.การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองที่ต่อเนื่องกัน ตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ การเคลื่อนไหว
4.การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association) เป็นการเรียนรู้ลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา
5.การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆโดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ
6.การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกัน
7.การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปและตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น
8.การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาโดยยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆมาใช้ การเรียนรู้นี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน
 
http://surinx.blogspot.com/ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย(Gagne’s Eclecticism) กานเย (Gagne) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธนิยม (Behavior Cognitivist) เขา อาศัยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย เนื่องจากความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประเภท มีความวับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กานเยได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธนิยมเข้าด้วยกัน
 
สรุป
 
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย คือ ความรู้สามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้ 
1. สร้างความสนใจ
2แจ้งจุดประสงค์
3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น
4เสนอบทเรียนใหม่
5ให้แนวทางการเรียนรู้
6ให้ลงมือปฏิบัติ
7ให้ข้อมูลป้อนกลับ
8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์
9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้
 
เอกสารอ้างอิง
  ณัชชากัญญ์. URL:http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554
              ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
 URL: http://surinx.blogspot.com/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554 
 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น