วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา 

     ถวัลย์ มาศจรัส และ วรรณ นันบู่แว่น (2547:3) ได้ กล่าวไว้ว่านวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดใหม่ รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ เทคนิคใหม่แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้ปรับประยุกต์ สร้างสรรค์และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิมหรือจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย 

     
       นายไพบูลย์ จำปาปั่น http://hotoknow.org/ ได้ กล่าวไว้ว่าหมายถึงการนำความคิดใหม่ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ๆหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่แปลกจากเดิมหรือจากจะได้รับการปรับ ปรุงของเก่าให้ใหม่ และเหมาะสมหับสถานการณ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นตองเป็นระบบ จรเป็นที่เชื่อถือได้ว่าให้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพเรานำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนว ทาง ปฏิบัติทางการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น

      ดร.เปรื่อง  กุมุท (2518 : ไม่ระบุ) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
  1. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้นโดยเก่ามาจากที่อื่น แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้เป็นการเหมาะสมที่จะเอามาใช้กับการเรียนการสอนของเรา
  2. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้วแต่บังเอิญไม่เกิดผล เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย พอมาถึงเวลานี้ระบบต่าง ๆ พร้อมจึงนำความคิดนั้นมาใช้ได้ นี่ก็เรียกว่านวัตกรรม
  3. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น เพราะมีสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาพร้อมกับความคิดที่จะทำอะไรบางอย่างอยู่พอดี และเห็นว่าใช้สิ่งเหล่านั้น หรือวิธีการนั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา นี่คือความหมายที่แท้จริงของนวัตกรรมทางการศึกษา 
 
สรุป
      นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การนำความคิดที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ๆหรือสิ่งประดิษฐ์ ใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม รวมไปถึงการปรับปรุบแก้ไข และพัฒนาสิ่งเก่าให้ใหม่และเหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องมีกระบวนการทดลองพิสูจณ์อย่างเป็นระบบขันตอน จนเป็นสิ่งที่ผู้คนยอมรับและเชื่อถือได้ สามารถทำให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง 
           ถวัลย์ มาศวรัส และวรรณาภา มังบู่แว่น.นวัตกรรมการศึกษาชุดแผนการจัดกำกรรมการใช้หนังสือหรับปฐม อนุบาล.กรุงเทพมหานคร:ธารจัดหร,2547
           นายไพบูลย์ จำปาป่น. URL: http://gotoknow.org/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554
           อาจารย์ธันยาภรณ์ วัฒนธรรม.นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา.กรุงเทพมหานคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น