วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
วัฒนา นัทธี .2547 http://www.edtechno.com/ กล่าวไว้ว่า ลักษณะโคร่งสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั้วไปแล่งออกเป็น 3 แบบ
(1) รูปแบบหลัก(domain model:dm) เป็น รูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
(2) รูปแบบของผู้เรียน(student model:sm) เป็น การออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำ เสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
(3) รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบ ที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผุ้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัว ( Apaptive Model:AM) เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน (Web-Based Intruction)
ภิดานันท์ มลิทอง (2540:269) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนเป็นเทคนิคขยายความคิดของข้อความหลายมิติใน เรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรงและมีเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกที่เป็นภาพนิ่งและเป็นภาพเคลื่อนไหวภาพสามมิติ ภาพถ่ายเสียงพูด เสียงดนตรีเข้าไว้ในเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม
กิดานันท์ มะลิทอง http://wongketkit.blogspot.com/ ได้กล่างไว้ว่าลักษณะของสื่อหลายมิติว่า
(1) ภาพนิ่ง
(2) ภาพเคลื่อนไหว
(3) ภาพถ่าย
(4) เสียงพูด
(5) เสียงดนตรี
ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของสื่อหลายมิติ ที่ผู้สอนจะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความใฝ่เรียนมากขึ้น และเป็นแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง
สรุป
รูปแบบสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน ประกอบด้วย
เอกสารอ้างอิง
วัฒนา นัทธี .2547 http://www.edtechno.com/ กล่าวไว้ว่า ลักษณะโคร่งสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั้วไปแล่งออกเป็น 3 แบบ
(1) รูปแบบหลัก(domain model:dm) เป็น รูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
(2) รูปแบบของผู้เรียน(student model:sm) เป็น การออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำ เสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
(3) รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบ ที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผุ้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัว ( Apaptive Model:AM) เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน (Web-Based Intruction)
กิดานันท์ มะลิทอง http://wongketkit.blogspot.com/ ได้กล่างไว้ว่าลักษณะของสื่อหลายมิติว่า
(1) ภาพนิ่ง
(2) ภาพเคลื่อนไหว
(3) ภาพถ่าย
(4) เสียงพูด
(5) เสียงดนตรี
ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของสื่อหลายมิติ ที่ผู้สอนจะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความใฝ่เรียนมากขึ้น และเป็นแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง
สรุป
รูปแบบสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน ประกอบด้วย
1. รูปแบบหลัก เป็นรูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้แก่ผู้เรียน เปรียบเสมือนคลังของข้อมูล
2. รูปแบบของผู้เรียน เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้ เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบ สนองแบบรายบุคคล
3. รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผู้เรียน
เอกสารอ้างอิง
ภิดานันท์ มลิทอง. สื่อหลายมิติในการจัดการเรียนการสอน.- - กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. 269หน้า.
กิดานันท์ มะลิทอง URL: http://wongketkit.blogspot.com/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554
สื่อการสอน
สื่อการสอน
จินตนา ในการซูยี (2540:11) ได้กล่าวถึงความหมายสื่อการสอนไว้ว่าสื่อการสอน(instructional Materials) หมาย ถึง วัตถุหรือเครื่องมือที่จัดทำขึ้นซึ่งมีข้อมูลเนื้อหาสารที่เป็นประโยชน์ต่อ ประสบการณ์เรียนรู้ สำหรับนำไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนของครูแบะนักเรียนให้เป็นไปตามลักสูตร กำหนด สื่อการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพื่อหา เกิดทักษะกระบวนการและความรู้สึก คิดต่างๆอันจะนำไปสู้จุดหมายของหลักสูตร
ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
อัจฉรา วาทวัฒนศักดิ์ http://www.school.net.th สื่อการสอน หมายถึง สิ่งซึ่งใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติให้แก่ผู้เรียน หรือทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มนุษย์รู้จักนำเอาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาให้เป็นสื่อการสอน ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา ด้วยความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ทำให้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ตลอดจนวิธีการแปลก ๆ ถูกนำมาใช้เป็นสื่อการสอนกันอย่างกว้างขวาง เช่น การใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทั้งในระบบวงจรปิด และในระบบทางไกล หรือการใช้ชุดการสอนเพื่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
เอกสารอ้างอิง
จินตนา ใบกาซูยี. การเขียนสื่อการเรียนการสอน.กรุงเทพ:ชมรมเด็ก,2540สมบูรณ์ สงวนญาติ.
จินตนา ในการซูยี (2540:11) ได้กล่าวถึงความหมายสื่อการสอนไว้ว่าสื่อการสอน(instructional Materials) หมาย ถึง วัตถุหรือเครื่องมือที่จัดทำขึ้นซึ่งมีข้อมูลเนื้อหาสารที่เป็นประโยชน์ต่อ ประสบการณ์เรียนรู้ สำหรับนำไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนของครูแบะนักเรียนให้เป็นไปตามลักสูตร กำหนด สื่อการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพื่อหา เกิดทักษะกระบวนการและความรู้สึก คิดต่างๆอันจะนำไปสู้จุดหมายของหลักสูตร
ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
ก. ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)
1.ประเภทภาพประกอบการสอน (Picture Instructional Materials)
1.1ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprotected Pictures) ได้แก่ ภาพเขียน (Drawing) ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures) ภาพตัด (Cut-out Pictures) สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrap Books) ภาพถ่าย (Photographs) เป็นต้น
1.2ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures) ได้แก่ สไลด์ (Slides) ฟิล์มสตริป (Filmstrips) ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures) ภาพโปร่งแสง (Transparencies) ภาพยนตร์ 16 มม. 8 มม. (Motion Pictures) ภาพยนตร์ (Video Tape) เป็นต้น
2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials) ได้แก่ แผนภูมิ (Charts) กราฟ (Graphs) แผนภาพ (Diagrams) โปสเตอร์ (Posters) การ์ตูน (Cartoons, Comic strips) รูปสเก็ช (Sketches) แผนที่ (Maps) ลูกโลก (Globe) เป็นต้น
3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays) ได้แก่ กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard, Chalk Board) กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards) กระดานนิเทศ (Bulletin Boards) กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards) กระดานไฟฟ้า (Electric Boards) เป็นต้น
4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มีหุ่นจำลอง (Models) ของตัวอย่าง (Specimens) ของจริง (Objects) ของล้อแบบ (Mock-Ups) นิทรรศการ (Exhibits) ไดออรามา (Diorama) กระบะทราย (Sand Tables)
5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials) มีแผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials) รายการวิทยุ (Radio Program)
6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays) ได้แก่การทัศนาจรศึกษา (Field Trip) การสาธิต (Demonstrations) การทดลอง (Experiments) การแสดงแบบละคร (Drama)
การแสดงบทบาท (Role Playing) การแสดงหุ่น (Puppetry)
ข.ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
1.เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
2.เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
3.เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
4.เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
5.เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
6.เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
7.เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
8.เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
9.เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
10.จอฉายภาพ (Screen)
11.เครื่องรับวิทยุ (Radio Receive)
12.เครื่องขยายเสียง (Amplifier)
13.อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ อัจฉรา วาทวัฒนศักดิ์ http://www.school.net.th สื่อการสอน หมายถึง สิ่งซึ่งใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติให้แก่ผู้เรียน หรือทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มนุษย์รู้จักนำเอาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาให้เป็นสื่อการสอน ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา ด้วยความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ทำให้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ตลอดจนวิธีการแปลก ๆ ถูกนำมาใช้เป็นสื่อการสอนกันอย่างกว้างขวาง เช่น การใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทั้งในระบบวงจรปิด และในระบบทางไกล หรือการใช้ชุดการสอนเพื่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
ได้กล่าวไว้ทั้ง 3 ประเภท ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างสื่อใหม่รวมไปในแต่ละประเภทดังนี้
1. สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected materials) เป็นสื่อที่ใช้การทางทัศนะโดยไม่ต้องใช้เครื่องฉายร่วมด้วย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่สื่อภาพ (illustrative materials) เป็นสื่อที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา เช่น ภาพกราฟิก กราฟ แผนที่ ของจริง ของจำลอง กระดานสาธิต (demonstration boards) ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เช่นกระดานชอล์ก กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก กระดานผ้าสำลี ฯลฯ และกิจกรรม(activites)
2. สื่อเครื่องฉาย (projected and equipment) เป็นวัสดุและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยภาพหรือทั้งภาพทั้งเสียง อุปกรณ์มีทั้งแบบฉายตรงและฉายอ้อมเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภท ที่ใช้เฉพาะอุปกรณ์นั้นเพื่อให้เป็นภาพปรากฏขึ้นบนจอเช่นเครื่องฉายข้าม ศีรษะใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องฉายสไลด์ ใช้กับแผ่นฟิล์มสไลด์ หรือให้ทั้งภาพและเสียง เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ฟิล์ม เครื่องเล่นดีวีดีใช้กับวีซีดีและดีวีดี เหล่านี้เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจรวมเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ คือ เครื่องแอลซีดีที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณจากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นวีซีดี เข้าไว้ในเครื่องด้วย เพื่อนำสัญญาณภาพจากอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นจอภาพ
3. สื่อเสียง (Audio materials and equipment) เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง อุปกรณ์เครื่องเสียงจะใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะกับอุปกรณ์นั้นเพื่อเป็นเสียงให้ได้ยิน เช่น เครื่องเล่นซีดีใช้กับแผ่นซีดี เครื่องเล่น/บันทึกเทปใช้กับเทปเสียง หรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอด
เปรื่อง กุมุท (2519:112) ได้ ให้ทักษะว่า สื่อการสอนหมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สื่อการสอนแบ่งออกตามลักษณะของการใช้ได้ 3 ประเภท คือ
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ เช่น สี กระดาน ชอล์ค ภาพ เปลือกหอย หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ คือสิ่งที่เป็นเครื่องมือ วิทยุ เครื่องฉายภาพวีดีโอ กระดานดำ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
3. สื่อ การสอนประเภทวิธีการ กระบวนการจัดกิจกรรม ได้แก่ การสาธิต การทดลอง เล่นเกม เล่นบทบาทสมมุติ จัดสถานการณ์จำลอง เช่น การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน
สรุป
สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ หรือทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เป็นตัวกลาง หรือ พาหะ ให้ผู้สอน สามารถส่ง หรือถ่ายถอดความรู้ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนได้เรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อให้ผู้สอนกับผู้เรียน มีความเข้าใจตรงกัน
สื่อการสอนแบ่งออกตามลักษณะของการใช้ได้ 3 ประเภท คือ
สื่อการสอนประเภทวัสดุ เช่น สี กระดาน ชอล์ค ภาพ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ คือ สิ่งที่เป็นเครื่องมือ เครื่องฉายภาพวีดีโอ เป็นต้น
สื่อการสอนประเภทวิธีการ กระบวนการจัดกิจกรรม ได้แก่ การสาธิต การทดลอง เล่นเกม เล่นบทบาทสมมุติ จัดสถานการณ์จำลอง เช่น การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน
เอกสารอ้างอิง
จินตนา ใบกาซูยี. การเขียนสื่อการเรียนการสอน.กรุงเทพ:ชมรมเด็ก,2540สมบูรณ์ สงวนญาติ.
อัจฉรา วาทวัฒนศักดิ์ URL: http://www.school.net.th เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554
เปรื่อง กุมุท.การวิจัยสื่อและนัวตกรรมการสอน.กรุงเทพฯ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
http://www.bloggang.com กล่าวว่า คำว่า"เทคโนโลยีสารสนเทศ" หรือ"Information Technology" ตรงกับคำศัพท์ที่ว่า"Informatique" ซึ่งหมายถึง "การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม" นอกจากนี้ยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกันคือ"Telematioque" หมายถึง "การบูรณาการระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร" และคำว่า "Burotique" หมายถึง สำนักงานอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อมีการนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งสองคำมาใช้แทนคำว่าเทคโนโลยี สารสนเทศ จึงได้คำว่า "Informatic" ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันกับ"Informatique" แต่คำเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในสหรัฐอเมริการก็ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ว่า "Teleputer" ขึ้นมาใช้แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน
คำว่า "สารสนเทศ" หรือ "สารนิเทศ" ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Information" ซึ่งราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้คำศัพท์ทั้งสองคำแทนคำว่า Information ได้ในวงการคอมพิวเตอร์การสื่อสาร และวงการธุรกิจ ส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่าสารสนเทศมากกว่า
"สารนิเทศ" มีความหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการเพื่อนำมาเผยแพร่และใช้งานทุก สาขาทุกด้าน ส่วนคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" (Imformation Technology:IT) เรียกสั้นๆว่า "ไอที" มีความหมายเน้นถึงขั้นตอนการดำเนินงานและการจัดการในกระบวนการสารสนเทศหรือ สารนิเทศ ตั้งแต่การเสาะแสวงหาการวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ปประโยชน์
ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:44 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นระบบประมวลผลข้อมูลในลักษณะต่างๆเพื่อช่วยในการบริหารจัดการงาน เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้การเก็บ รวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์ป้อนทางแป้นพิมพ์ การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง(bar code) การประมวลผล เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บมาได้ เข้าสู่กระบวนการประมวลผลตามต้องการเช่น การคำนวน การเรียงลำดับข้อมูล แยกเป็นกลุ่ม ฯลฯ
รานา ระวินท http://www.bloggang.com ได้ให้ ความหมายไว้ว่าเอคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ๆ ในการจัดเก็บข้อมู ข่าวสาร ความรู้การสังท่าน การสื่อสารสารสนเทศ การขึ้งสารสนเทศ การรับสารสนเทศรอวึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสนเทศ และการลดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
เอกสารอ้างอิง
URL: http://www.bloggang.com เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554
http://www.bloggang.com กล่าวว่า คำว่า"เทคโนโลยีสารสนเทศ" หรือ"Information Technology" ตรงกับคำศัพท์ที่ว่า"Informatique" ซึ่งหมายถึง "การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม" นอกจากนี้ยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกันคือ"Telematioque" หมายถึง "การบูรณาการระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร" และคำว่า "Burotique" หมายถึง สำนักงานอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อมีการนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งสองคำมาใช้แทนคำว่าเทคโนโลยี สารสนเทศ จึงได้คำว่า "Informatic" ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันกับ"Informatique" แต่คำเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในสหรัฐอเมริการก็ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ว่า "Teleputer" ขึ้นมาใช้แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน
คำว่า "สารสนเทศ" หรือ "สารนิเทศ" ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Information" ซึ่งราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้คำศัพท์ทั้งสองคำแทนคำว่า Information ได้ในวงการคอมพิวเตอร์การสื่อสาร และวงการธุรกิจ ส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่าสารสนเทศมากกว่า
"สารนิเทศ" มีความหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการเพื่อนำมาเผยแพร่และใช้งานทุก สาขาทุกด้าน ส่วนคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" (Imformation Technology:IT) เรียกสั้นๆว่า "ไอที" มีความหมายเน้นถึงขั้นตอนการดำเนินงานและการจัดการในกระบวนการสารสนเทศหรือ สารนิเทศ ตั้งแต่การเสาะแสวงหาการวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ปประโยชน์
ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:44 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นระบบประมวลผลข้อมูลในลักษณะต่างๆเพื่อช่วยในการบริหารจัดการงาน เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้การเก็บ รวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์ป้อนทางแป้นพิมพ์ การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง(bar code) การประมวลผล เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บมาได้ เข้าสู่กระบวนการประมวลผลตามต้องการเช่น การคำนวน การเรียงลำดับข้อมูล แยกเป็นกลุ่ม ฯลฯ
รานา ระวินท http://www.bloggang.com ได้ให้ ความหมายไว้ว่าเอคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ๆ ในการจัดเก็บข้อมู ข่าวสาร ความรู้การสังท่าน การสื่อสารสารสนเทศ การขึ้งสารสนเทศ การรับสารสนเทศรอวึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสนเทศ และการลดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ๆในการจัดเก็บ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เพื่อประมวลผลออกมาในรูปแบบต่างๆที่ดีขึ้น เช่น การเช่าถึงสารสนเทศมากขึ้น การจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น เทคโนโลยีสานสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มรการจัดการอย่างเป็นระบบมีความแม่นยำ สะดวก รวดเร็วและสามารถใช้ได้อย่างกว้างขวาง โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่เกี่ยว ข้องโดยตรง เอกสารอ้างอิง
URL: http://www.bloggang.com เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554
ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ . สื่อการสอน.ปทุมธานี: สภายบุ๊ส์ ,2551
รานา ระวินท http://www.bloggang.com เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554
เทคโนโลยี
เทคโนโลยี
http://th.wikipedia.org/wiki/ เทคโนโลยี กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:39) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2541 หมายถึงวิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฎิบัติและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีมาจากคำว่า Techno ตรงกับภาษาไทยว่าวิธีการ การสานหรือการสร้าง คำว่า Logy มี ความหมายว่า ความรู้เกี่ยวกับศาตร์หรือการศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ต้องการศึกษากำหนด สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การวัดการประเมินผ่านการสื่อสารที่เอื้อต่อโครงสร้างพื้นฐานและความพร้อมของ ผู้เรียน
สรุป
เทคโนโลยี หมายถึง เป็นหารนำเอาความคิด หลักการเทคนิด ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความรู้ทางศาสตร์สาขาต่างๆมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ ในด้านสิ่งประดิษฐ์ และวิธีการปฎิบัติ ซึ่งสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของงานนั้นให้มีมากยิ่งขึ้นด้วย
เอกสารอ้างอิง
URL: http://th.wikipedia.org/wiki/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2554
จำกัด ,2537
http://th.wikipedia.org/wiki/ เทคโนโลยี กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:39) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2541 หมายถึงวิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฎิบัติและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีมาจากคำว่า Techno ตรงกับภาษาไทยว่าวิธีการ การสานหรือการสร้าง คำว่า Logy มี ความหมายว่า ความรู้เกี่ยวกับศาตร์หรือการศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ต้องการศึกษากำหนด สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การวัดการประเมินผ่านการสื่อสารที่เอื้อต่อโครงสร้างพื้นฐานและความพร้อมของ ผู้เรียน
สรุป
เทคโนโลยี หมายถึง เป็นหารนำเอาความคิด หลักการเทคนิด ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความรู้ทางศาสตร์สาขาต่างๆมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ ในด้านสิ่งประดิษฐ์ และวิธีการปฎิบัติ ซึ่งสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของงานนั้นให้มีมากยิ่งขึ้นด้วย
เอกสารอ้างอิง
URL: http://th.wikipedia.org/wiki/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2554
สมบูรณ์ สงวนญาติ.เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.กรุงเทพ:โรงพิมพ์.การศาสนา,2534
ดร.กิดานันท์ มะลิทอง.เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.กรุงเทพ:เอดิสัน เพรสโฟดัส์จำกัด ,2537
นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา
ถวัลย์ มาศจรัส และ วรรณ นันบู่แว่น (2547:3) ได้ กล่าวไว้ว่านวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดใหม่ รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ เทคนิคใหม่แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้ปรับประยุกต์ สร้างสรรค์และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิมหรือจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย
นายไพบูลย์ จำปาปั่น http://hotoknow.org/ ได้ กล่าวไว้ว่าหมายถึงการนำความคิดใหม่ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ๆหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่แปลกจากเดิมหรือจากจะได้รับการปรับ ปรุงของเก่าให้ใหม่ และเหมาะสมหับสถานการณ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นตองเป็นระบบ จรเป็นที่เชื่อถือได้ว่าให้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพเรานำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนว ทาง ปฏิบัติทางการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น
ดร.เปรื่อง กุมุท (2518 : ไม่ระบุ) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
- ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้นโดยเก่ามาจากที่อื่น แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้เป็นการเหมาะสมที่จะเอามาใช้กับการเรียนการสอนของเรา
- ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้วแต่บังเอิญไม่เกิดผล เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย พอมาถึงเวลานี้ระบบต่าง ๆ พร้อมจึงนำความคิดนั้นมาใช้ได้ นี่ก็เรียกว่านวัตกรรม
- ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น เพราะมีสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาพร้อมกับความคิดที่จะทำอะไรบางอย่างอยู่พอดี และเห็นว่าใช้สิ่งเหล่านั้น หรือวิธีการนั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา นี่คือความหมายที่แท้จริงของนวัตกรรมทางการศึกษา
สรุป
นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การนำความคิดที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ๆหรือสิ่งประดิษฐ์ ใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม รวมไปถึงการปรับปรุบแก้ไข และพัฒนาสิ่งเก่าให้ใหม่และเหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องมีกระบวนการทดลองพิสูจณ์อย่างเป็นระบบขันตอน จนเป็นสิ่งที่ผู้คนยอมรับและเชื่อถือได้ สามารถทำให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
ถวัลย์ มาศวรัส และวรรณาภา มังบู่แว่น.นวัตกรรมการศึกษาชุดแผนการจัดกำกรรมการใช้หนังสือหรับปฐม อนุบาล.กรุงเทพมหานคร:ธารจัดหร,2547
นายไพบูลย์ จำปาป่น. URL: http://gotoknow.org/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554
อาจารย์ธันยาภรณ์ วัฒนธรรม.นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา.กรุงเทพมหานคร
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นอร์ดและทัคเคอร์ (Nord & Tucker, 1987) อธิบายว่า นวัตกรรม หมายถึงขบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม (Radical Innovation) โดยการเปลี่ยนแปลงค่านิยม (value), ความเชื่อ (belief), ตลอดจนระบบค่านิยม (value system) รูปแบบเดิมๆ ของสังคมอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น อินเตอร์เน็ท จัดว่าเป็นนวัตกรรมหนึ่งในยุคโลกข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอระบบอินเตอร์เน็ท ทำให้ค่านิยมเดิมที่เชื่อว่า โลกข้อมูลข่าวสารจำกัดอยู่ในวงเฉพาะทั้งในด้านเวลาและสถานที่นั้นเปลี่ยนไป อินเทอร์เน็ต เปิดโอกาสให้ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลไร้ขีดจำกัด ทั้งในด้านของเวลา และระยะทาง การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ทำให้ระบบคุณค่าของข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนแปลงไป บางคนเชื่อว่า อินเทอร์เน็ตจะเข้ามาแทนที่ระบบการส่งข้อมูลข่าวสารในระบบเดิม อย่างสิ้นเชิงในไม่ช้า อาทิเช่น ระบบไปรษณีย์
ฮิวซ์ (Hughes, 1971 อ้างถึงใน กีรติ ยศยิ่งยง, 2552) อธิบายว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนตามลำดับ คือ การคิดค้น การพัฒนา และนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=40.0 "นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง (2540:16) ได้ กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวคิด การปฎิบัติ หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีให้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทัน สมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฎิบัติ ประดิษฐ์สิ่งใหม่หรือพัฒนาสิ่งที่อยู่แล้วให้ดีขึ้นและเหมาะสมภาพและ ประสิทธิผล สูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาแรงงานได้ด้วย
สรุป
นวัตกรรมหมายถึง เป็นแนวคิด รูปแบบ วิธีการ เทคนิคและแนวทาง การปฎิบัติ สร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการนำเอาของที่มีอยู่เดิมมาพัฒนา ดัดแปลงให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต จึงต้องมีการปรับปรุง พัฒนาให้มีความหมายเหมาะสมกับยุคสมัย เพื่อการใช้งานที่ดีขึ้น มีประสิทธิภาพสูงทั้งยังช่วยในเรื่องของความสะดวกและช่วยให้ประหยัดเวลาซึ่ง เป็นความต้องการของคนในปัจจุบัน
เอกสารอ้างอิง
URL: http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=40.0 เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554
รศ.ดร.กิดานันท์ มะลิอง.นวัตกรรม.กรุงเทพมหานคร:อรุณการพิมพ์,2548วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)
ทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)
ทิศนา แขมมณี ได้รวบรวมไว้ว่า Johnson and Johnson (1994 : 31 - 37) ได้สรุปว่า Cooperative Learning มีองค์ประกอบ ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทางบวก (Positive Interdependent) หมายถึงการพึ่งพากันใน
ทางบวก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การพึ่งพากันเชิงผลลัพธ์ คือการพึ่งพากันในด้านการได้รับผลประโยชน์จากความสำเร็จของกลุ่มร่วมกัน ซึ่งความสำเร็จของกลุ่มอาจจะเป็นผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่ม ในการสร้างการพึ่งพากันในเชิงผลลัพธ์ได้ดีนั้น ต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนทำงาน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน จึงจะเกิดแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน สามารถร่วมมือกันทำงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ และการพึ่งพาในเชิงวิธีการ คือ การพึ่งพากันในด้านกระบวนการทำงานเพื่อให้งานกลุ่มสามารถบรรลุได้ตามเป้า หมาย ซึ่งต้องสร้างสภาพการณ์ให้ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มได้รับรู้ว่าตนเองมีความ สำคัญต่อความสำเร็จของกลุ่ม ในการสร้างสภาพการพึ่งพากันในเชิงวิธีการ มีองค์ประกอบ ดังนี้
1.1 การทำให้เกิดการพึ่งพาทรัพยากรหรือข้อมูล (Resource Interdependence) คือ แต่ละ
บุคคลจะมีข้อมูลความรู้เพียงบางส่วนที่เป็นประโยชน์ต่องาน ของกลุ่ม ทุกคนต้องนำข้อมูลมารวมกันจึงจะทำให้งานสำเร็จได้ ในลักษณะที่เป็นการให้งานหรืออุปกรณ์ที่ทุกคนต้องทำหรือใช้ร่วมกัน
1.2 ทำให้เกิดการพึ่งพาเชิงบทบาทของสมาชิก (Role Interdependence) คือ การกำหนด บทบาทของการทำงานให้แต่ละบุคคลในกลุ่ม และการทำให้เกิดการพึ่งพาเชิงภาระงาน (Task Interdependence) คือ แบ่งงานให้แต่ละบุคคลในกลุ่มมีทักษะที่เกี่ยวเนื่องกัน ถ้าสมาชิกคนใดคนหนึ่งทำงานของตนไม่เสร็จ จะทำให้สมาชิกคนอื่นไม่สามารถทำงานในส่วนที่ต่อเนื่องได้
2. การมีปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกันระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม (Face to Face Promotive Interdependence) หมาย ถึง การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนช่วยเหลือกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กัน การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด การอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้ การรับฟังเหตุผลของสมาชิกในกลุ่ม การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างสมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้ การรับฟังเหตุผลของสมาชิกภายในกลุ่ม จะก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน เป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกันทางสังคม จากการช่วยเหลือสนับสนุนกัน การเรียนรู้เหตุผลของกัน
บุคคลจะมีข้อมูลความรู้เพียงบางส่วนที่เป็นประโยชน์ต่องาน ของกลุ่ม ทุกคนต้องนำข้อมูลมารวมกันจึงจะทำให้งานสำเร็จได้ ในลักษณะที่เป็นการให้งานหรืออุปกรณ์ที่ทุกคนต้องทำหรือใช้ร่วมกัน
1.2 ทำให้เกิดการพึ่งพาเชิงบทบาทของสมาชิก (Role Interdependence) คือ การกำหนด บทบาทของการทำงานให้แต่ละบุคคลในกลุ่ม และการทำให้เกิดการพึ่งพาเชิงภาระงาน (Task Interdependence) คือ แบ่งงานให้แต่ละบุคคลในกลุ่มมีทักษะที่เกี่ยวเนื่องกัน ถ้าสมาชิกคนใดคนหนึ่งทำงานของตนไม่เสร็จ จะทำให้สมาชิกคนอื่นไม่สามารถทำงานในส่วนที่ต่อเนื่องได้
2. การมีปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกันระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม (Face to Face Promotive Interdependence) หมาย ถึง การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนช่วยเหลือกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กัน การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด การอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้ การรับฟังเหตุผลของสมาชิกในกลุ่ม การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างสมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้ การรับฟังเหตุผลของสมาชิกภายในกลุ่ม จะก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน เป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกันทางสังคม จากการช่วยเหลือสนับสนุนกัน การเรียนรู้เหตุผลของกัน
และ กัน ทำให้ได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับ การทำงานของตนเอง จากการตอบสนองทางวาจา และท่าทางของเพื่อนสมาชิกช่วยให้รู้จักเพื่อนสมาชิกได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
3. ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล (Individual Accountability) หมาย ถึง ความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน โดยต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ ต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนสมาชิก ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสามารถและความรู้ที่แต่ ละคนจะได้รับ มีการตรวจสอบเพื่อความแน่ใจว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือไม่ โดยประเมินผลงานของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งรวมกันเป็นผลงานของกลุ่มให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งกลุ่มและรายบุคคลให้ สมาชิกทุกคนรายงานหรือมีโอกาสแสดงความคิดเห็นโดยทั่วถึง ตรวจสรุปผลการเรียนเป็นรายบุคคลหลังจบบทเรียน เพื่อเป็นการประกันว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มรับผิดชอบทุกอย่างร่วมกับกลุ่ม ทั้งนี้สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องมีความมั่นใจ และพร้อมที่จะได้รับการทดสอบเป็นรายบุคคล
4. การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interpersonal and Small Group Skills) หมายถึง การมีทักษะทางสังคม (Social Skill) เพื่อ ให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข คือ มีความเป็นผู้นำ รู้จักตัดสินใจ สามารถสร้างความไว้วางใจ รู้จักติดต่อสื่อสาร และสามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานร่วมกันที่จะช่วยให้การทำงานกลุ่มประสบ ความสำเร็จ
3. ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล (Individual Accountability) หมาย ถึง ความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน โดยต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ ต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนสมาชิก ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสามารถและความรู้ที่แต่ ละคนจะได้รับ มีการตรวจสอบเพื่อความแน่ใจว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือไม่ โดยประเมินผลงานของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งรวมกันเป็นผลงานของกลุ่มให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งกลุ่มและรายบุคคลให้ สมาชิกทุกคนรายงานหรือมีโอกาสแสดงความคิดเห็นโดยทั่วถึง ตรวจสรุปผลการเรียนเป็นรายบุคคลหลังจบบทเรียน เพื่อเป็นการประกันว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มรับผิดชอบทุกอย่างร่วมกับกลุ่ม ทั้งนี้สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องมีความมั่นใจ และพร้อมที่จะได้รับการทดสอบเป็นรายบุคคล
4. การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interpersonal and Small Group Skills) หมายถึง การมีทักษะทางสังคม (Social Skill) เพื่อ ให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข คือ มีความเป็นผู้นำ รู้จักตัดสินใจ สามารถสร้างความไว้วางใจ รู้จักติดต่อสื่อสาร และสามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานร่วมกันที่จะช่วยให้การทำงานกลุ่มประสบ ความสำเร็จ
5. กระบวนการทำงานของกลุ่ม (Group Processing) หมาย ถึง กระบวนการเรียนรู้ของกลุ่ม โดยผู้เรียนจะต้องเรียนรู้จากกลุ่มให้มากที่สุด มีความร่วมมือทั้งด้านความคิด การทำงาน และความ รับผิดชอบร่วมกันจนสามารถบรรลุเป้าหมายได้ การที่จะช่วยให้การดำเนินงานของกลุ่มเป็นไปได้อย่าง มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายนั้น กลุ่มจะต้องมีหัวหน้าที่ดี สมาชิกดี และกระบวนการทำงานดี นั่นคือ มีการเข้าใจในเป้าหมายการทำงานร่วมกัน
Johnson and Johnson (1994:31-32) กล่าวไว้ว่า ปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1.ลักษณะ แข่งขันกัน ในการศึกษาเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่น เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่องหรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่างๆ
2.ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น
3.ลักษณะ ร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก้รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย
การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และ มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของ สมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
สรุป
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning) เป็น วิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็น กลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกัน จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ ของแต่ละคน โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันจนบรรลุตาม เป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้การ เรียนรู้แบบร่วมมือยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะหรือทีมตาม ระบอบประชาธิปไตย เป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สามารถปรับตัวให้อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ
เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
หลักการ
1. การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองด้วยตนเองของผู้เรียน
2. ผู้เรียนที่มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงานโดย อาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะได้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรม
3. การสร้างความรู้ในตนเองของผู้เรียน เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา
4. ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน มีความคงทน ไม่ลืมง่าย และสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจความคิดของตนเองได้ดี
5. ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. การใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระการเรียนรู้และผลงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง
2. การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำในสิ่งที่สนใจ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการคิด การทำ และการเรียนรู้ต่อไป
4. จัดสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ เช่น วัย ความถนัด ความสามารถ และประสบการณ์
5. สร้างบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร
6. ครูต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
7. การประเมินผลการเรียนรู้ต้องประเมินทั้งผลงานและกระบวนการ
8. ใช้วิธีการที่หลากหลายในการประเมิน เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยแฟ้มสะสมงาน
บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52 http://dontong52.blogspot.com/ กล่าวว่า เป็นทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพพอร์ท แห่งสถาบันเทคโนโลยีเมสซาซูเซตส์ แนวคิดนี้คือ การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างพลังการเรียนรู้ในตนเองของผู้เรียน การนำความคิดไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
สรุป
การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตนเองจะทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรง เกิดความคิดกว้าง เกิดการจดจำที่ยาวนานและจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การ เรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมาก ยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
การศึกษาการเรียนการสอนโดย ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.ทฤษฎีการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2554.จาก: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486
URL:http://www.pochanukul.com/?p=156.เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554
URL:http://dontong52.blogspot.com/การศึกษาการเรียนการสอนโดย ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.ทฤษฎีการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2554.
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
ทิศนา แขมมณี ได้รวบรวมไว้ว่า Piaget (1972:1-12) กล่าวไว้ว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาเชาว์ปัญญาไปตามลำดับขั้นจากการมีปฎิสัมพันธ์และประสบการณ์ กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และประสบการณ์เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม วุฒิภาวะ และกระบวนการพัฒนาความสมดุลของบุคคลนั้น
สุรางค์ โคว้ตระกูล กล่าวว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)
เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอน ตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้ เกิดขึ้น ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุม ตนเองในการเรียนรู้
บทบาท ของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้ แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย เทอดชัย บัวผาย http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7 กล่าวไว้ว่าทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) เป็น ทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความ เข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ สิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction) เป้า หมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอน ตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้ เกิดขึ้น ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุม ตนเองในการเรียนรู้ บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้ แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
สรุป
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการ ของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ สิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นกระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนผู้ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพราะความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเองและการเรียนรู้จะเกิด ขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by doing) นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ
สุรางค์ โคว้ตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
เทอดชัย บัวผาย.URL: http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7 เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)