พาดหัวข่าว : สพฐ.ให้ชุมชนร่วมแก้ปัญหา ร.ร.ขนาดเล็ก ไม่ต้องยุบรวม
เลขาธิการ กพฐ. เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมรักษาและบริหารโรงเรียนขนาดเล็กให้มี
ประสิทธิภาพ กันการถูกยุบรวม ส่วนเหตุโรงเรียนไม่จ่ายค่าหนังสือให้องค์การค้าฯ อาจเพราะยังได้หนังสือไม่ครบกำหนด...
เมื่อวันที่ 12 ก.ค. นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งขณะนี้พบว่าโรงเรียนบ้านตลาดพัฒนา จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ศรีษะเกษ เขต 2 มีนักเรียนทั้งโรงเรียนอยู่เพียง 4 คน ว่า การแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กต้องหาแนวทางการแก้ปัญหาแบบเป็นกลางมากที่สุด ดังนั้น โรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในเกณฑ์ขนาดของโรงเรียนและจำนวนนักเรียนที่เข้าข่าย ยุบรวมหรือยุบเลิกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะเปิดโอกาสให้ชุมชนช่วยคัดค้านรักษาโรงเรียนเหล่านั้นไว้ด้วยเหตุผล ความจำเป็นของแต่ละชุมชน แต่จะต้องมีแผนบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ หรืออาจจะมีสูตรการแก้ไขในการจัดสรรทรัพยากรขั้นต่ำเพื่อทำให้โรงเรียนเหล่า นั้นอยู่รอดต่อไปได้
ส่วนกรณีองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่ง เสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ออกมาระบุว่า ยังมีโรงเรียนจำนวนหนึ่งที่ยังไม่จ่ายค่าจัดพิมพ์หนังสือเรียน รวมประมาณ 400-600 ล้านบาทนั้น เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สพฐ.ได้โอนงบค่าหนังสือเรียนไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทุกเขต และจัดสรรงบประมาณไปยังโรงเรียนทุกแห่งแล้ว สันนิษฐานว่าสาเหตุที่โรเงรียนยังไม่จ่ายเงิน อาจเป็นเพราะยังได้รับหนังสือเรียนไม่ครบตามจำนวนที่สั่งพิมพ์ อาทิ สั่งหนังสือเรียน 8 รายการ 2,000 เล่ม แต่เพิ่งส่งหนังสือเรียนไปให้ 5 รายการ 1,200 เล่ม ยังขาดอีก 800 เล่ม คิดว่าโรงเรียนคงไม่จงใจติดหนี้โดยไม่ยอมจ่าย อย่างไรก็ตาม ยินดีที่จะช่วยติดตามเรื่องดังกล่าวให้.
เมื่อวันที่ 12 ก.ค. นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งขณะนี้พบว่าโรงเรียนบ้านตลาดพัฒนา จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ศรีษะเกษ เขต 2 มีนักเรียนทั้งโรงเรียนอยู่เพียง 4 คน ว่า การแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กต้องหาแนวทางการแก้ปัญหาแบบเป็นกลางมากที่สุด ดังนั้น โรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในเกณฑ์ขนาดของโรงเรียนและจำนวนนักเรียนที่เข้าข่าย ยุบรวมหรือยุบเลิกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะเปิดโอกาสให้ชุมชนช่วยคัดค้านรักษาโรงเรียนเหล่านั้นไว้ด้วยเหตุผล ความจำเป็นของแต่ละชุมชน แต่จะต้องมีแผนบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ หรืออาจจะมีสูตรการแก้ไขในการจัดสรรทรัพยากรขั้นต่ำเพื่อทำให้โรงเรียนเหล่า นั้นอยู่รอดต่อไปได้
ส่วนกรณีองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่ง เสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ออกมาระบุว่า ยังมีโรงเรียนจำนวนหนึ่งที่ยังไม่จ่ายค่าจัดพิมพ์หนังสือเรียน รวมประมาณ 400-600 ล้านบาทนั้น เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สพฐ.ได้โอนงบค่าหนังสือเรียนไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทุกเขต และจัดสรรงบประมาณไปยังโรงเรียนทุกแห่งแล้ว สันนิษฐานว่าสาเหตุที่โรเงรียนยังไม่จ่ายเงิน อาจเป็นเพราะยังได้รับหนังสือเรียนไม่ครบตามจำนวนที่สั่งพิมพ์ อาทิ สั่งหนังสือเรียน 8 รายการ 2,000 เล่ม แต่เพิ่งส่งหนังสือเรียนไปให้ 5 รายการ 1,200 เล่ม ยังขาดอีก 800 เล่ม คิดว่าโรงเรียนคงไม่จงใจติดหนี้โดยไม่ยอมจ่าย อย่างไรก็ตาม ยินดีที่จะช่วยติดตามเรื่องดังกล่าวให้.
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม 25555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น